การยื่นเรื่องให้รับรองหลักสูตร และสถาบันแพทยศาสตรบัณฑิตต่างประเทศเป็นรายบุคคล  (*กรุณาอ่านข้อมูลด้านล่างให้ครบถ้วน)

เพื่อให้มีสิทธิสมัครสอบเพื่อรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพเวชกรรมในประเทศไทย


เรียน ผู้ที่มีความประสงค์จะไปศึกษาวิชาแพทยศาสตร์ในต่างประเทศ

ตามที่สำนักงานเลขาธิการแพทยสภาได้ออกประกาศสำนักงานเลขาธิการแพทยสภาที่42/2548 เรื่อง การยกเลิกการรับรองมาตรฐานหลักสูตรของโรงเรียนแพทย์ในต่างประเทศ ที่แพทยสภารับรองมาแล้วเกินกว่า 5 ปี สำหรับผู้ขอขึ้นทะเบียนและขออนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม ไปแล้ว และแพทยสภาได้ออกข้อบังคับแพทยสภาว่าด้วยกระบวนวิธีพิจารณารับรองหลักสูตรและสถาบันผลิตแพทย์ตามหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต ของผู้ที่สำเร็จการศึกษาแพทยศาสตร์ จากคณะแพทยศาสตร์ในต่างระเทศ พ.ศ. 2550 ใหม่ ซึ่งกำหนดให้ผู้ที่สำเร็จการศึกษาที่มีความประสงค์ขอขึ้นทะเบียนและขอรับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม ต้องยื่นคำขอให้รับรองหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิตพร้อมทั้งหลักฐานหลักสูตรและสถาบันการผลิตแพทย์

           ในการนี้ สำนักงานเลขาธิการแพทยสภาขอแจ้งให้ผู้ที่มีความประสงค์ จะไปศึกษาวิชาแพทยศาสตร์ในต่างประเทศ โปรดติดต่อ สำนักงานเลขาธิการแพทยสภา เพื่อดำเนินการยื่นคำขอให้รับรองมาตรฐานหลักสูตรของโรงเรียนแพทย์เป็นรายบุคคล ให้เรียบร้อยก่อนที่จะเดินทางไปศึกษา ทั้งนี้หากท่านเดินทางไปศึกษาก่อนที่แพทยสภาจะรับรองมาตรฐานหลักสูตร โรงเรียนแพทย์ นั้นๆ อาจไม่ได้รับการรับรองจากแพทยสภา หากการเรียนการสอนไม่ได้มาตรฐานตามเกณฑ์ที่กำหนด ซึ่งจะทำให้ท่านไม่สามารถมาสมัครสอบเพื่อรับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมในประเทศไทยได้ 

          การรับรองหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิตต่างประเทศ เป็นการรับรองเนื้อหาหลักสูตรการเรียนการสอนด้านปรีเมดดิซิน ปรีคลินิก คลินิก และชั่วโมงเรียนรวมเป็นจำนวนหน่วยกิต โดยเทียบเคียงกับการรับรองหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิตในประเทศไทย รวมถึงการรับรองคุณภาพโรงพยาบาลที่ใช้ในการศึกษาระดับคลินิกตามที่ระบุมาในหลักสูตร แต่ทั้งนี้ไม่ได้รวมไปถึงการบริหารจัดการของสถาบัน

         ดังนั้นผู้ที่เข้าศึกษาวิชาแพทยศาสตร์ในสถาบันต่างประเทศที่แพทยสภารับรอง จะต้องเรียนตลอดหลักสูตรที่ประเทศ นั้นๆ ยกเว้นการศึกษาในรายวิชาเลือกที่ระบุไว้ในหลักสูตร และฝึกปฏิบัติงานในระดับคลินิกในโรงพยาบาลดังระบุมาในหลักสูตร เท่านั้น จึงจะมีสิทธิในการสมัครสอบเพื่อรับใบอนุญาตป็นผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมในประเทศไทย 

           อนึ่ง หลักสูตรที่ได้รับการรับรองไปแล้ว หากพบปัญหาในการจัดการเรียนการสอน หรือเรื่องอื่นใดที่ไม่เป็นไปตามที่ให้ข้อมูลไว้ แพทยสภามีสิทธิที่จะทบทวน ตักเตือน หรือยกเลิกการรับรอง 

           ทั้งนี้ ผู้ที่ไปเรียนวิชาแพทยศาสตร์ในต่างประเทศ ถ้ามีความประสงค์จะประกอบวิชาชีพเวชกรรมในประเทศไทย จะต้องผ่านการสอบเพื่อรับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม ซึ่งการสอบเป็นการสอบรวมทั้งภาครัฐ เอกชน และต่างประเทศ ใช้ข้อสอบเดียวกัน ซึ่งการสอบประกอบด้วย 

           ขั้นตอนที่ 1 หมวดวิทยาศาสตร์พื้นฐานทางการแพทย์ 
           ขั้นตอนที่ 2 หมวดวิทยาศาสตร์ทางคลินิก 

           ขั้นตอนที่ 3 หมวดทักษะและหัตถการทางคลินิก


อนึ่ง ศูนย์ประเมินและรับรองความรู้ความสามารถในการประกอบวิชาชีพเวชกรรม ได้กำหนดเงื่อนไขสำหรับผู้ที่สำเร็จการศึกษาหลักสูตรแพทยศาสตร์จะมีสิทธิขอขึ้นทะเบียนเพื่อรับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมจากแพทยสภาได้ก็ต่อเมื่อสอบผ่านการประเมินและรับรองความรู้ความสามารถในการประกอบวิชาชีพเวชกรรม ทั้ง 3 ขั้นตอน รวมทั้งต้องสอบผ่าน Long Case Examination และ Modified Essay Question ที่โรงเรียนแพทย์ทุกแห่งจัดสอบนักศึกษาชั้นปีที่ 6 ศึกษารายละเอียดได้จาก www.cmathai.org  

           ดังนั้น ผู้ที่มีความประสงค์จะไปศึกษาวิชาแพทยศาสตร์ในต่างประเทศ โปรดติดต่อสำนักงานเลขาธิการแพทยสภา เพื่อยื่นเรื่องให้รับรองมาตรฐานหลักสูตรให้เรียบร้อยเป็นรายบุคคล ก่อนที่จะไปศึกษาตามขั้นตอนดังต่อไปนี้


ขั้นตอนการยื่นเรื่องให้รับรองมาตรฐานหลักสูตรแพทยศาสตร์ ในต่างประเทศ


1.รายละเอียดและขั้นตอนการยื่นเรื่องให้รับรองหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิตต่างประเทศ  ดาวน์โหลดเอกสาร  

2. เขียนคำร้องให้รับรองสถาบัน  ดาวน์โหลดเอกสาร  
พร้อมแนบเอกสารดังนี้
     2.1. สำเนาบัตรประชาชน
     2.2. สำเนาหลักฐานว่าสำเร็จการศึกษาก่อนสมัครเข้าเรียนแพทย์ (Transcript ที่มี GPA)
     2.3. หลักฐานการตอบรับเข้าศึกษาจากสถาบันการแพทย์ (กรณีที่สถาบันได้รับการรับรองจากแพทยสภาแล้ว)
3. ชำระเงินค่าธรรมเนียมในการขึ้นทะเบียนเพื่อรับรองหลักสูตร 10,100 บาท

แพทยสภาส่งจดหมายถึง Dean  พร้อมแนบแบบฟอร์ม
Information sheet of Foreign Medical School

Dean  ตอบจดหมายกลับมาพร้อมแนบแบบฟอร์ม 
Information sheet of Foreign Medical School
(ใช้เวลาประมาณ 4-5 เดือน)

 

แพทยสภาส่งข้อมูลให้คณะอนุกรรมการพิจารณารับรอง
หลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิตต่างประเทศ


คณะอนุกรรมการพิจารณารับรองหลักสูตรพิจารณาเสร็จ
แล้วส่งเรื่องเข้าคณะอนุกรรมการกลั่นกรองวิชาการ


คณะกรรมการแพทยสภา 
มีการประชุมเดือนละ 1 ครั้ง พฤหัสบดีที่ 2 ของเดือน


หมายเหตุ 
     1. ผู้ที่จะไปศึกษาหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิตต่างประเทศทุกคน ต้องมาติดต่อที่แพทยสภาก่อน
         เพื่อเขียนคำร้องให้รับรองหลักสูตรเป็นรายบุคคล
     2. ในกรณีที่มีผู้มายื่นเรื่องให้รับรองหลักสูตรและสถาบันที่ยังไม่ได้รับการรับรองจากแพทยสภา 
         และสำนักงานเลขาธิการแพทยสภาได้ส่งจดหมายถึง Dean เพื่อขอข้อมูลของหลักสูตรและสถาบันแล้ว
         สถาบันไม่ส่งข้อมูลกลับมาภายใน 1 ปี จะถือว่าไม่ประสงค์ที่จะให้พิจารณารับรองหลักสูตรและสถาบันที่ยื่นเรื่องไว้ 
         สำนักงานเลขาธิการแพทยสภา จะจำหน่ายคำร้องออกจากระบบต่อไป
     3. ในกรณีที่คณะอนุกรรมการพิจารณารับรองหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิตต่างประเทศ มีมติให้ขอข้อมูลเพิ่มเติม 
         ต้องดำเนินการจัดส่งให้คณะอนุกรรมการฯ ภายใน 6 เดือน นับจากวันที่สำนักงานเลขาธิการแพทยสภามีหนังสือแจ้งไป 
         หากไม่ดำเนินการภายในระยะเวลาที่กำหนด จะถือว่าไม่ประสงค์ที่จะให้พิจารณารับรองหลักสูตรและสถาบันที่ยื่นเรื่องไว้ 
         สำนักงานเลขาธิการแพทยสภา จะจำหน่ายคำร้องออกจากระบบต่อไป
     4. หากมีการย้ายสถาบันการศึกษา จะต้องมาติดต่อสำนักงานเลขาธิการแพทยสภา เพื่อดำเนินเรื่องขอย้ายสถาบัน
     5. ในกรณีที่เข้าศึกษาภายหลังจากสถาบันหมดอายุการรับรอง แพทยสภาจะดำเนินการพิจารณาตามกระบวนการรับรองใหม่ทั้งหมด

 

การขอใบแทน หนังสือรับรองหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิตต่างประเทศ

ขั้นตอนดำเนินการ

1. ยื่นคำขอใบแทนหนังสือรับรองหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิตต่างประเทศ ที่สำนักงานเลขาธิการแพทยสภา คุณทิพสิริ กรีวิชัย ฝ่ายฝึกอบรมและสอบ   
2. ค่าธรรมเนียม 500 บาท/ฉบับ
3. สำนักงานเลขาธิการแพทยสภา จัดทำใบแทนประมาณ 1 สัปดาห์
4. ติดต่อรับใบแทน ที่แพทยสภา หรือ ให้จัดส่งตามที่แจ้งความจำนงไว้

หมายเหตุ  กรณีที่ไม่สามารถมาติดต่อด้วยตนเองได้ ให้ส่งเอกสารต่อไปนี้ 
                   1. คำขอใบแทนสามารถ Download ได้
                   2. สำเนาการโอนเงิน 500 บาท เข้าบัญชีแพทยสภา ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด(มหาชน) สาขากระทรวงสาธารณสุข  เลขที่บัญชี 340 2 01174 4
มาที่  คุณทิพสิริ กรีวิชัย ฝ่ายฝึกอบรมและสอบ สำนักงานเลขาธิการแพทยสภา อาคาร 6 ชั้น 7 ตึกสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข ซอยบำราศนราดูร ตำบลตลาดขวัญ อำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี 11000

ดาวน์โหลดใบแทนหนังสือรับรอง (คลิกที่นี่)



รายชื่อโรงเรียนแพทย์ต่างประเทศที่แพทยสภารับรอง(มีอายุการรับรอง 5 ปี)

MALAYSIA                               
1
International Medical University (IMU), Kuala Lumpur
14  ม.ค. 53
13  ม.ค. 58
2Faculty of Medicine, Mahsa University College, Kuala Lumpur
รับรองหลักสูตร 5 ปี ที่มีการจัดการเรียนตลอดหลักสูตร ณ ประเทศมาเลเซีย และรับรองโรงพยาบาลที่ใช้ในการเรียนการสอนระดับคลินิกเฉพาะที่ระบุมาในหลักสูตร คือ 
 1. Hospital Sungai Buloh
 2. Hospital Kuala Lumpur
 3. Hospital Tanjung Karang
11 ต.ค. 5510 ต.ค. 60
3Jeffrey Cheah School of Medicine and Health Sciences, Monash University Malaysia at the Bandar Sunway Campus, Selangor Darul Ehsan
หลักสูตร 5 ปี MBBS Program ที่จัดการเรียนการสอนตลอดหลักสูตร ณ ประเทศมาเลเซีย และรับรองโรงพยาบาลที่ใช้ในการเรียนการสอนระดับคลินิกที่ระบุมาในหลักสูตร และอยู่ในประเทศมาเลเซีย คือ 
โรงพยาบาลหลัก
     1. Sultanah Aminah Hospital ในรัฐ Johor Bahru
     Address: Jalan Persiaran Abu Bakar Sultan, 80100 Johor Bahru, Johor 
     2. Permai Hospital in Johor Bahru 
     Address: Jalan Tampoi, 81200 Johor bahru, Johor 
โรงพยาบาลสมทบ
     1. Segamat Hospital
     Address: KM6 Jalan Genuang, 85000 Segamat, Johor 
     2. Klinic Kesihatan Mahmoodiah /General Practices 
     Address: Jalan Mahmoodiah, Kampung Bahru, 80100 Johor Bahru, Johor 
12 ก.ย. 5611 ก.ย. 61
4Penang Medical College, Joint Programme with University College Dublin (UCD) and Royal College of Surgeons in Ireland (RCSI)
โรงพยาบาลหลัก
     1. Hospital Pulau Pinang
     Address: Jalan Residensi George Town, Penang 1045 
     2. Hospital Taipingu 
     Address: Jalan Taming Sari 34000 Taiping Perak 
โรงพยาบาลสมทบ
     1. Hospital Seberang Jaya
     Address: Jalan Tun Hussein Onn, 10450, Seberang Jaya
14 พ.ย. 5613 พ.ย. 61
5

Faculty of Medicine, Segi University, Malaysia หลักสูตร 5 ปี ปริญญา Bachelor of Medicine and Bachelor of Surgery (MBBS) ที่มีการเรียนการสอนตลอดหลักสูตร ณ ประเทศมาเลเซีย และรับรองโรงพยาบาลที่ใช้ในการเรียนการสอนระดับคลินิกที่ระบุมาในหลักสูตร และอยู่ในประเทศมาเลเซีย คือ
โรงพยาบาลหลัก 
1. Hospital Teluk Intan
2. SiBu Hospital

11 มิ.ย. 5810 มิ.ย. 63
6Faculty of Medicine, Universiti Kuala Lumpur Royal College of Medicine Perak Ipoh, Perak, Malaysia หลักสูตร 5 ปี Bachelor of Medicine and Bachelor of Surgery (MBBS) ที่มีการเรียนการสอนตลอดหลักสูตร ณประเทศมาเลเซีย และรับรองโรงพยาบาลที่ใช้ในการเรียนการสอนระดับคลินิกที่ระบุมาในหลักสูตร และอยู่ในประเทศมาเลเซีย ดังนี้
โรงพยาบาลหลัก 2 แห่ง 
  1. Hospital Ipoh Jalan Hospital
  2. Hospital Taiping Jalan Taming Sari 
โรงพยาบาลสมทบ 2 แห่ง ดังนี้
  1. Hospital Batu Gajah Jalan Perpaduan
  2. Hospital Kuala Kangsar, Jalan Sultan Idris
13 ส.ค. 5812 ส.ค. 63
7

Newcastle University Medicine Malaysia, Johor; Malaysia หลักสูตร 5 ปี ปริญญา Bachelor of Medicine, Bachelor of Surgery (MBBS) ที่มีการเรียนการสอนตลอดหลักสูตร ณ ประเทศมาเลเซีย ยกเว้นวิชาเลือกในชั้นปีที่ 4 จำนวน 8 สัปดาห์ และรับรองโรงพยาบาลที่ใช้ในการเรียนการสอนระดับคลินิกที่ระบุมาในหลักสูตร และอยู่ในประเทศมาเลเซีย คือ 
1. Hospital Permai (Mental Health Facility) 
2. Hospital Sultan Ismail 
3. HospitalSultanah Aminah
4. Hospital Sultanah NoraIsmail, Batu Pahat 
5. Hospital Enche’ Besar Hajjah Kalsom, Kluang

12 พ.ย. 5811 พ.ย. 63